บันทึกรักเกาะนางจร

ENG

บันทึกรักเกาะนางจร

บันทึกรักเกาะนางจร

โดย คณะสังกะสีการละคอน

ความเป็นมา

“บันทึกรักเกาะนางจร” ละครเวทีของน้อง ๆ มัธยม 8 คนจากจังหวัดตาก แสดงครั้งแรกในคืนวันลอยกระทง 27 พฤศจิกายน 2566 ที่ศูนย์การเรียนรู้อินเทอร์เน็ตของมูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย โดยมีครูจืด เข็มทอง โมราษฏร์ เป็นผู้ฝึกซ้อมและกำกับการแสดง จากการตอบสนองของผู้ชม ทำให้คณะสังกะสีการละคอน มีกำลังใจที่จะนำมาแสดงที่กรุงเทพมหานคร เพื่อเพิ่มทักษะและขัดเกลาผลงานให้ได้ระดับมากขึ้น

เกิดขึ้นได้อย่างไร

บันทึกรักเกาะนางจรเป็นเพียงหนึ่งในการนำเสนอผลลัพธ์จากกิจกรรมเชื่อมวัยด้วยไอทีเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2566 ที่ทางมูลนิธิฯ จัดขึ้นเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างคน 2 กลุ่ม คือกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มน้อง ๆ นักเรียน โดยใช้เทคโนโลยีเป็นสื่อกลาง  ในกิจกรรมดังกล่าวมีการให้ผู้สูงอายุมาเล่าภาพอดีตของสถานที่บริเวณเมืองระแหงก่อนที่จะมีการขุดทรายกลางแม่น้ำปิงขึ้นมาถมตลิ่ง ซึ่งแม่น้ำบริเวณนั้นเคยกว้างสุดถึง  2 กิโลเมตร จนเหลือเพียง 500 เมตรเท่านั้น ผู้สูงวัยได้ปักหมุดจุดสำคัญ ๆ ที่เคยเป็นริมตลิ่งเก่า และบรรยายสิ่งที่ได้รับฟังมาลงไปในหมุด เพื่อบันทึกในรูปแบบดิจิทัลตามรอยริมปิงพร้อมกับการรวบรวมภาพถ่ายเก่า ๆ ของเมืองตาก การถ่ายทอดในสองรูปแบบนี้ยังขาดความมีชีวิต จึงมีการใช้การละครเป็นการถ่ายทอดในอีกมิติหนึ่ง

เพื่ออะไร?

การละคร เป็นการนำเสนอบันทึกเหตุการณ์เดียวกันที่ให้ความรู้สึก ให้ความบันเทิง และกระตุกต่อมคิดของผู้เข้าชม  พร้อมสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ชมอันเป็นสิ่งที่จะมีคุณค่ามากยิ่งขึ้นในสังคมดิจิทัลที่คืบคลานเข้ามา  ทางศูนย์การเรียนรู้มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย จึงให้ความสำคัญต่อกิจกรรมศิลปวัฒนธรรม สนับสนุนให้เด็กที่เข้ามาสัมผัสกับการเรียนรู้ตามหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ ได้เห็นคุณค่าและพัฒนาตนเองให้รอบรู้ สังเกต ศึกษา วิเคราะห์รูปธรรมนามธรรมได้ อันเป็นคุณสมบัติสำคัญของบุคลากรชั้นนำในสายวิชานี้

ระบบคอมพิวเตอร์เต็มไปด้วยกลไกการทำงานที่ซับซ้อนที่ยากต่อการบรรยายแม้ในหมู่นักวิชาการด้วยกันเอง แต่ทว่าเราได้มีพัฒนาการกันต่อมาอย่างต่อเนื่องมาหลายทศวรรษได้ ก็โดยอาศัยนามธรรมที่อิงกับชีวิตจริงมาถ่ายทอดกลไกอันซับซ้อนในหมู่นักวิชาการและนักพัฒนาด้วยกันทำให้วิทยาการสามารถขับเคลื่อนต่อไปได้ ปูชนียบุคคลในวงการไอทีได้อาศัยความรู้ลึกด้านสังคม วรรณกรรม ศิลปวัฒนธรรม มาอธิบายกลไกที่อยากให้เห็นภาพมาได้ในอดีต เช่น Dining Philosophers Problem, Byzantine Generals Problem เป็นต้น ดังนั้นการเสริมความรอบรู้ความสนใจในศิลปวัฒนธรรมให้แก่เด็กไทย จึงมีประโยชน์ต่อพัฒนาการบุคลากรสู่อนาคตของประเทศที่ก้าวสู่โลกยุคดิจิทัล

ทางศูนย์ฯ จะจัดกิจกรรมเหล่านี้เป็นกิจกรรมเสริม สร้างความพร้อม แก่บุคลากรไทยในโลกดิจิทัลต่อไป

สถานที่จัดแสดง

วิธีการเดินทาง GalileOasis

  • BTS สถานีราชเทวี ทางออก 1 แล้วต่อวินมอเตอร์ไซค์ หรือ เดิน
  • รถส่วนตัว จากถนนบรรทัดทอง เข้าซอยโรงเรียนกิ่งเพชร
  • ที่จอดรถ
    –   ที่จอดข้างโครงการ 30 บาทต่อชม
    –    ค้างคืน 150 บาท (ยกเว้นวันอาทิตย์)
    –    ที่จอดมัสยิดดารุลฟะละฮ์ 20 บาท/ชั่วโมง
    –    ที่จอดรถโรงแรมเอเชีย 20 บาท/ชั่วโมง
    –    ค้างคืน คืนละ 200 บาท
    –    โลตัสพระราม 1 ฟรี 3 ชั่วโมงแรก
    –    ลานจอดระพี 20 บาท/ชั่วโมง, 50 บาท/3ชั่วโมง

เสวนาหลังละคร

ผู้ชมละครมักมีความคิดเห็นต่าง ๆนา ๆ หลังละครจบลง  คณะผู้จัดจึงได้จัดให้มีการเสวนาหลังละครเลิกทุกค่ำคืนจะมีนำประเด็นจากละครนี้มาถกกันต่อ โดยมีวิทยากรรับเชิญมาช่วยจุดประเด็นและจุดประกายความคิดในแต่ละหัวข้อหลังรอบสุดท้ายของการแสดงในแต่ละวัน โดยทุกท่านที่มีบัตรผ่านเข้าชมบันทึกรักเกาะนางจรสามารถเข้าร่วมได้ ดังนี้

วันศุกร์ ที่ 17 พฤษภาคม 2567

เวลา 18:30 – 19:30 น.

หัวข้อ

 จาก นางจร สู่ แคดเมี่ยม

บทเรียนที่ชาวตากได้เสียสละ เพื่อการพัฒนาประเทศในอดีต  ได้ถูกยกขึ้นมาให้ต้องครุ่นคิดอีกเมื่อเกิดกรณีที่ รัฐมนตรีอุตสาหกรรม
จะขนย้ายแร่แคดเมี่ยมกลับมาตากภายใน 7 วัน 
ชาวตากแห่งลุ่มแม่นำ้ปิงต้องตื่นตระหนกตกใจกันอีกครั้งหนึ่งว่า
ได้มีการฝังแคดเมี่ยมที่เมืองตากจะให้ชาวบ้านต้องรับกรรมที่ตนไม่ได้ก่ออีกหรือ ?

วงเสวนา

กาญจนา กาญจนสุต

ชาวตาก

สมบัติ บุญงามอนงค์

นักกิจกรรมกำจัดขยะมูลนิธิกระจกเงา

ธรรมรัตน์ คุตตะเทพ

นักวิชาการสิ่งแวดล้อมสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย

ดำเนินรายการเสวนา

พิชญาพร โพธิ์สง่า

ไทยพีบีเอส

วันเสาร์ ที่ 18 พฤษภาคม 2567

เวลา 18:30 – 19:30 น.

หัวข้อ 
ประวัติศาสตร์ กับ การละคร

บันทึกรักเกาะนางจร นำเสนอการบันทึกการเปลี่ยนแปลงในชุมชนโดยใช้การละครเป็นสื่อเพื่อให้ความรู้สึกอันแตกต่างจากสื่อดิจิทัล เป็นตัวอย่างหนึ่งของการใช้การละครเสนอเรื่องราว
ประวัติศาสตร์ชุมชน ในขณะเดียวกัน ก็ได้อาศัยประวัติศาสตร์ที่สำคัญมาจุดประเด็นดำเนินเรื่องในบทละคร การอิงประวัติศาสตร์ ในบางครั้งก็ทำให้เกิดคลาดเคลื่อนหรือบิดเบือนไปได้

วงเสวนา

กำพล จำปาพันธ์

นักประวัติศาสตร์หนุ่มรุ่นใหม่

รัศมี เผ่าเหลืองทอง

นักเขียนบทนักแปลและผู้กำกับละครเวที

เข็มทอง โมราษฎร์

ผู้ประพันธ์และกำกับการแสดงบันทึกรักเกาะนางจร

ดำเนินการเสวนา

อัครพงษ์ ค่ำคูณ

วิทยาลัยนานาชาติปรีดีพนมยงค์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วันอาทิตย์ ที่ 19 พฤษภาคม 2567

เวลา 18:30 – 19:30 .

หัวข้อ
เบื้องหน้าเบื้องหลัง บันทึกรักเกาะนางจร

คณะสังกะสีการละคอน เกิดขึ้นจากการทดลองนำเสนอสารสนเทศด้วยการละคร อันมีเนื้อหาจากการเสวนากับผู้สูงวัย พลังการร่วมงานสร้างละครในครั้งนั้น ได้ผลักดันให้นักเรียนที่สนใจเรียนทางด้านคอมพิวเตอร์ ได้หันมาจับงานศิลปะ และประยุกต์เทคโนโลยีที่ตนได้เรียนรู้มาใช้ในโครงการนี้

วงเสวนา

รัศมี เผ่าเหลืองทอง

นักเขียนบทนักแปลและผู้กำกับละครเวที

เข็มทอง โมราษฏร์

ผู้ประพันธ์และกำกับการแสดงบันทึกรักเกาะนางจร

ไพจง ไหลสกุล

นักทำสารคดีและสื่อการสอน

กาญจนา กาญจนสุต

ที่ปรึกษาศูนย์เรียนรู้มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย

ภาคภูมิ ไตรพัฒน์

ผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย

และ คณะผู้แสดง

ดำเนินการเสวนา

วรา วราวิทย์

นักวิชาการเทคโนโลยีดิจิทัล

ลานสนุกเกาะนางจร

ลานสนุก – บอร์ดเกมส์

  • Waste War – ฝึกทักษะการแยกขยะด้วยบอร์ดเกม
  • Ghost Blitz – ถ้าคุณมั่นใจว่าแยกแยะสิ่งของด้วยสีได้เก่งมาแข่งกันจับผีให้ถูกตัวกัน
  • Splendor – สวมบทพ่อค้าเพชรพลอยจากจันทบุรี ซื้อขายเพชรเพื่อให้ได้เป็นสุดย่อดพ่อค้าที่เหล่าบรรดาเศรษฐีต้องมาซื้อกับคุณ
  • Insider – ช่วยกันไขปริศนาหาข้อมูลลับให้เจอคุณอาจจะไม่ได้หาข้อมูลนั้นเจอด้วยตัวเองแต่อาจจะเป็นจอมบงการที่แอบแฝงอยู่และบอร์ดเกมอื่น ๆ อีกมากมายแล้วมาสนุกด้วยกัน

ลานสนุก – เมี่ยงคำเต้าเจี้ยว

  • ส่วนประกอบ คือ มะพร้าวขูด ข้าวตากแห้งทอด ถั่วลิสงคั่ว กุ้งแห้ง มะนาว หอมแดง ขิง กระเทียม พริกขี้หนู ตะไคร้ มะเขือพวงและเต้าเจี้ยวเมืองตาก (ซึ่งเต้าเจี้ยวเมืองตากของเรานั้นได้มีวิธีการหมักที่พิเศษเฉพาะเมืองตากเท่านั้น)
  • วิธีการรับประทาน  เรามีให้เลือก 2 แบบ คือทานกับใบชะพลูหรือข้าวเกรียบงาดำเมืองตากต้องพรมน้ำให้อ่อนตัวก่อนแล้วมาห่อกับเครื่องเคียงต่างๆจากนั้นราดด้วยเต้าเจี้ยวที่หมักกับน้ำอ้อยเพื่อชูรสชาติให้อร่อยมากยิ่งขึ้น เป็นความรู้สึกแบบหวานนิดเค็มหน่อยอมเปรี้ยวบวกกับความหอมมันของถั่วลิสงคั่วกับมะพร้าว เป็นของทานเล่นที่ทานได้ตลอด ไม่น่าเบื่อ ต้องมาลองเองแล้วจะรู้!

ขอบคุณคลิปจาก หัวเดียด.ไทย

ลานสนุก – รายการดนตรีล่องรอย

โดย นักศึกษาสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา การแสดงดนตรีในธีม “ล่องรอย” เป็นลักษณะการแสดงดนตรีเคลื่อนที่ไปตามคลองแสนแสบช่วงชุมชนบ้านครัวและมาจบที่  จุดสุดท้าย ณ กาลิเลโอเอซิส

ผู้สนับสนุน